บทความที่ได้รับความนิยม

วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

ชะอำ มนต์เสน่ห์ทะเลไทย


ชะอำ
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ภาพประกอบโดยกระปุกดอทคอม
           เฮ้อ… อากาศร้อนๆ แบบนี้ ถ้าได้ไปพักผ่อนแถบชายทะเล ก็คงดีไม่น้อยเลย… ไม่ว่าจะเลือกเดินทางแบบฉายเดียว สองคนกับคนรู้ใจ เฮฮากับเพื่อนร่วมก๊วน หรือท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่กับครอบครัว ก็คงสนุกสุขสันต์คลายร้อนได้เหมือนกัน เอ… แล้วทะเลที่ไหนน่าไปเที่ยวบ้างหนอ? อ่ะ อ่ะ ถ้าใครนึกไม่ออกว่าจะไปเที่ยวไหนดี วันนี้เรามีสถานที่เที่ยวมานำเสนอค่ะ และ ที่นั่นคือ  ชะอำ นั่นเอง
           ชะอำ ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดฮิต ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันในจังหวัดเพชรบุรี เป็นชายหาดติดทะเลฝั่งอ่าวไทย แต่เดิม ชะอำ เป็นเพียงตำบลหนึ่ง ขึ้นอยู่กับอำเภอ หนองจอก แต่ภายหลังที่หัวหินมีชื่อเสียง ที่ดินแถบชายทะเลถูกจับจองหมด พวกเจ้านายชั้นผู้ใหญ่สมัยนั้น จึงพยายามหาสถานที่พักผ่อนแห่งใหม่ โดยการนำของสมเด็จกรมพระยานราธิปประพันธ์พงศ์ และได้ พบว่า หาดชะอำ เป็นชายหาดที่สวยงามไม่แพ้หัวหิน ชะอำ จึงเริ่มเป็นที่รู้จักตั้งแต่นั้นมา ชะอำ ได้รับการพัฒนาเจริญเติบโตขึ้น และยกฐานะเป็นอำเภอจนปัจจุบัน
ชะอำ
  ชะอำ มีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจมากมาย ที่เด่นๆ และน่าสนใจ คือ
หาดชะอำ
           อยู่ห่างจากตัวเมืองเพชรบุรี 41 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายเข้าชายหาด ระยะทาง 2 กิโลเมตร เป็นชายหาดที่สวยงาม และมีชื่อเสียงของจังหวัดเพชรบุรี เดิมชะอำเป็นเพียงตำบลหนึ่งขึ้นอยู่กับอำเภอหนองจอก เป็นชายหาดที่เคยเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญมากตั้งแต่สมัยโบราณ ตามประวัติเล่ากันว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เคยเสด็จมาที่นี่พร้อมด้วยสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงพอพระราชหฤทัยในความงามของหาดแห่งนี้มาก ทรงประทับแรมอยู่หลายวัน จนกระทั่งชาวบ้านเรียกหาดนี้ว่า หาดเจ้าสำราญ มาจนปัจจุบัน
พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน 

           ตั้งอยู่ในบริเวณค่ายพระรามหก ตำบลห้วยทรายเหนือ ตรงหลักกิโลเมตรที่ 216 เลยหาดชะอำมา 8 กิโลเมตร เป็นพระตำหนักที่ประทับริมทะเล ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้รื้อพระตำหนักหาดเจ้าสำราญมาปลูกขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2466 ได้รับขนานนามว่า "พระราชนิเวศน์แห่งความรักและความหวัง" พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เปิดให้เข้าชมทุกวัน ยกเว้นวันพุธ ค่าเข้าชม ชาวไทยและชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก 15 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร 032508039  เว็บไซต์ http://mrigadayavan.org/
พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
           เป็นศูนย์เรียนรู้ และเป็นศูนย์กลางการเผยแพร่ความรู้ และการฝึกอบรมระดับสากลด้านการอนุรักษ์พลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายครบวงจร ตั้งอยู่ภายในบริเวณค่ายพระรามหก ถนนเพชรเกษม ระหว่างชะอำและหัวหิน ทางเข้าทางเดียวกับพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน  

           อุทยานแห่งนี้ ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุ 48 พรรษา ในปีพุทธศักราช 2548 และเพื่อเป็นการฟื้นฟูพัฒนาสิ่งแวดล้อมป่าชายเลน ป่าชายหาด ป่าเบญจพรรณ และที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิด ในบริเวณนี้ให้กลับมาอยู่ในสภาพสมบูรณ์ดังเดิม ตลอดจนส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศภายในอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิริน ธร เพื่อกระตุ้นและปลูกจิตสำนึกของประชาชนให้เห็นคุณค่าของการอนุรักษ์พลังงาน และสิ่งแวดล้อม 
วนอุทยานเขานางพันธุรัต 
           เป็น เทือกเขาหินปูนที่มีความสวยงามเอกลักษณ์ โดดเด่นมองเห็นได้จากริมถนนใหญ่ ทอดยาวตามแนวเหนือ - ใต้ มองดูคล้ายนางยักษ์ (นางพันธุรัต) นอนอยู่ มีโกศอยู่ทางทิศใต้ และมีปฎิมากรรมธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับตำนานเรื่องสังข์ทอง  ตั้งอยู่ที่บ้านเขาไม้นวล หมู่ 2 ตำบลเขาใหญ่ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 1,562 ไร่ กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2542 เพื่อสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงให้อนุรักษ์พื้นที่บริเวณเขานางพันธุรัตไว้เป็นมรดกของชาติ
สวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี 
           ตั้ง อยู่ที่ตำบลสามพระยา ในเนื้อที่ 340 ไร่ ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ประจำปี 2545 รางวัลยอดเยี่ยม ประเภทแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ศูนย์แห่งนี้ดำเนินการโดยมูลนิธิชัยพัฒนา โดยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการทำฟาร์มผสมผสานที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ในท้องถิ่นที่เคยแห้งแล้งเนื่องจากการบุกรุกถางป่า และได้รับการพัฒนาฟื้นฟูให้กลับคืนความสมบูรณ์ ด้วยการจัดหาแหล่งน้ำควบคู่กับการเพาะปลูกพืช  และนำผลการทดลองที่ประสบผลสำเร็จนำไปขยายผลสู่เกษตรกร เป็นแนวทางสู่เกษตรยั่งยืน

อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี (เขาวัง) 
          เป็นโบราณสถานเก่าแก่คู่เมืองเพชรบุรี ตั้งอยู่บนยอดเขาใหญ่ 3 ยอด ยอดที่สูงที่สุดสูง 95 เมตร แต่เดิมชาวบ้านเรียกภูเขานี้ว่า "เขาสมน" พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพอพระราชหฤทัยที่จะสร้างพระราชวังสำหรับเสด็จแปรพระราชฐานขึ้นบนยอดเขา แห่งนี้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ซึ่งในขณะนั้นเป็นพระสมุหกลาโหมเป็นแม่กองก่อสร้าง จนสำเร็จเรียบร้อยเมื่อปี พ.ศ. 2403 ทรงพระราชทานนามว่า พระนครคีรี แต่ชาวเมืองเพชรเรียกกันติดปากว่า "เขาวัง" สืบมาจนบัดนี้ พระนครคีรีมีพระที่นั่ง พระตำหนัก วัด และกลุ่มอาคารต่างๆ มากมาย ส่วนใหญ่เป็นสถาปัตยกรรมตะวันตกแบบนิโอคลาสสิคผสมสถาปัตยกรรมจีน
เขาวัง
          "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครคีรี" ภายในเก็บรักษาโบราณวัตถุต่าง ๆ ได้แก่ เครื่องราชูปโภคของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รูปหล่อโลหะสำริดและทองเหลืองที่ใช้สำหรับตกแต่งห้องต่างๆ ในพระที่นั่ง และเครื่องกระเบื้องของจีน ญี่ปุ่น และยุโรป เฉพาะส่วนของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินี้ เปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา 08.30 - 16.00 น. ทุกวัน

 
เขาวัง
  อยากไปเที่ยวชะอำ ไปเส้นทางไหนดี? 
ทางรถยนต์
           ทางที่สะดวกและใกล้ที่สุด คือ จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 35 (สายธนบุรี-ปากท่อ) ผ่าน สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และอำเภอปากท่อ แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 4 ไปจังหวัดเพชรบุรี รวมระยะทางประมาณ 123 กิโลเมตร หรือจากกรุงเทพฯ เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านนครปฐม ราชบุรี ไปยังเพชรบุรี เป็นระยะทาง 166 กิโลเมตร หรือใช้ทางพิเศษเฉลิมมหานคร สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร 1543
ทางรถไฟ
           จากกรุงเทพฯ มีบริการรถไฟไปเพชรบุรีและอำเภอชะอำทุกวัน รถไฟออกจากสถานีรถไฟหัวลำโพง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หน่วยบริการเดินทาง โทร 1690 หรือ 022204334 และยังมีรถไฟออกจากสถานีรถไฟธนบุรี (บางกอกน้อย) ทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร 024113102 หรือที่เว็บไซต์ http://www.railway.co.th/ 
รถโดยสารประจำทาง
            มีทั้งรถประจำทางปรับอากาศ และรถธรรมดาออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี สอบ ถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร 024351199,02434 7192, 024355605 หรือรถโดยสารของบริษัทเอกชน ติดต่อที่เพชรบุรีทัวร์ โทร 024357408 หรือเว็บไซต์ http://www.transport.co.th/ 
            นอกจากนี้ยังสามารถโดยสารรถประจำทางสายใต้หลายสาย ที่วิ่งผ่านเพชรบุรี เช่น สายกรุงเทพฯ-ชุมพร สายกรุงเทพฯ-หัวหิน-ปราณบุรี เป็นต้น จากกรุงเทพฯ ยังสามารถเดินทางไปยังอำเภอต่างๆ ของจังหวัดเพชรบุรีได้ คือ กรุงเทพฯ-ชะอำ, กรุงเทพฯ-ท่ายาง, กรุงเทพฯ-บ้านแหลม อีกด้วย

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

หนีเมืองกรุงลงใต้ เที่ยวทะเล ชุมพร ให้ชุ่มปอด


ชุมพร

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร

ชุมพร

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร

ชุมพร

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร


สรุปข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก dnp.go.th

         เหน็ดเหนื่อยมาจากการทำงาน การเรียน อันแสนหนักอึ้ง ถึงเวลาพักกายพักใจให้เบาสมองซะที แต่เอ...แล้วจะไปเที่ยวที่ไหนดีนะ ที่ผู้คนไม่พลุกพล่าน และยังมีธรรมชาติทีสวยงาม น้ำทะเลใสแจ๋ว มีแหล่งดำน้ำดูปะการัง ฯลฯ แหม ๆ ข้อกำหนดในการท่องเที่ยวเยอะแบบนี้ จะหาเจอมั้ยเนี้ย ... อิอิ เจอแน่นอนค่ะ เพราะที่นี่เมืองไทย มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมายรอให้เพื่อน ๆ ไปสัมผัสอยู่ หนึ่งในนั้นก็คือ "อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร" จังหวัดชุมพร นั่นเอง...

         จังหวัดชุมพร มีชายฝั่งทะเลความยาวทั้งสิ้น 222 กิโลเมตร ซึ่ง อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร ครอบคลุมชายฝั่งทะเลประมาณครึ่งหนึ่งของ ความยาวทั้งหมด ชายหาดที่สำคัญและสวยงามจะปรากฏตามแนวชายฝั่งเรียงตัวตามแนวเหนือ-ใต้ ได้แก่ อ่าวทุ่งมะขามน้อยและอ่าวทุ่งมะขามใหญ่ อยู่ในเขตอำเภอเมือง เป็นชายหาดที่สงบและสวยงาม มีความยาว 1 และ 3 กิโลเมตร ตามลำดับ หาดทรายรีสวี เป็นชายหาดที่สำคัญและสวยงามของอำเภอสวี หาดอรุโณทัย อยู่ในเขตอำเภอทุ่งตะโก เป็นชายหาดที่ยาว 6 กิโลเมตร เหมาะในการเล่นน้ำเนื่องจากมีความลาดชันน้อย

          และด้วยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ และความเหมาะสมหลายประการ ปี พ.ศ. 2532 กรมป่าไม้จึงสั่งการให้กองอุทยานแห่งชาติ (เดิม) ดำเนินการสำรวจเพิ่มเติม เพื่อเตรียมการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติได้จัดตั้งสำนักงานชั่วคราวบริเวณลานชมวิวเขาเจ้าเมืองใน ระยะนี้ใช้ชื่อว่า "อุทยานแห่งชาติหาดทรายรี" และดำเนินการต่อเนื่อง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2540 จึงได้ย้ายที่ทำการชั่วคราวมาอยู่ที่บริเวณปากคลองท่าจระเข้ และดำเนินการต่อเนื่องมา

          กระทั่งเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542 จึงได้ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติอย่างสมบูรณ์ตาม พระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินป่าเลนอ่าวทุ่งคา ป่าอ่าวสวี และเกาะต่าง ๆ ในท้องที่ตำบลสะพลี อำเภอปะทิว ตำบลปากน้ำ ตำบลท่ายาง ตำบลหาดทรายรี ตำบลทุ่งคา ตำบลวิสัยเหนือ อำเภอเมืองชุมพร ตำบลวิสัยใต้ ตำบลด่านสวี ตำบลท่าหิน อำเภอสวี ตำบลปากตะโก อำเภอทุ่งตะโก ตำบลบางน้ำจืด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2542 โดยเปลี่ยนชื่อเป็น "อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร"


ชุมพร

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร


          ซึ่งอุททยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร ตั้งอยู่ตามพิกัดภูมิศาสตร์ ระหว่างละติจูด 10 องศา 02’18”N-10 องศา 30’05” N และลองติจูดที่ 99 องศา 07’42”E – 99 องศา 25’45”E ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของ 11 ตำบลใน 5 อำเภอ ได้แก่…

          1. อำเภอปะทิว ได้แก่ ตำบลสะพลี
          2. อำเภอเมือง ได้แก่ ตำบลปากน้ำ ตำบลท่ายาง ตำบลหาดทรายรี ตำบลทุ่งคา ตำบลวิสัยเหนือ
          3. อำเภอสวี ได้แก่ ตำบลวิสัยใต้ ตำบลด่านสวี ตำบลท่าหิน
          4. อำเภอทุ่งตะโก ได้แก่ ตำบลปากตะโก
          5. อำเภอหลังสวน ได้แก่ ตำบลบางน้ำจืด

          มีอาณาเขตดังนี้…

          ทิศเหนือ จด เกาะจระเข้ ตำบลสะพลี อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร
          ทิศใต้ จด อ่าวท้องครก ตำบางน้ำจืด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
          ทิศตะวันออก จด เกาะง่ามใหญ่ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร
          ทิศตะวันตก จด ป่าชายเลนอ่าวทุ่งคา – สวี อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร
 
          อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมที่พัดผ่าน ทำให้ฝนตกชุก คลื่นพายุรุนแรง ฤดูร้อน อยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม ฤดูฝน อยู่ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม และฤดูหนาวอยู่ระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์

          อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพรมีเกาะในพื้นที่ถึง 40 เกาะ ที่สำคัญและเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่...

ชุมพร

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร


เกาะกุลา

          เป็นเกาะสัมปทานรังนกมีขนาดใหญ่ อยู่ในเขตอำเภอสวี สภาพทั่วไปของเกาะปกคลุมด้วยป่าดงดิบชื้นมีชายหาดขนาดใหญ่ 2 แห่ง ทิวทัศน์สวยงาม ด้านตะวันตกของเกาะเป็นแนวปะการังชายฝั่งมีสภาพค่อนค้างเสื่อมโทรมส่วนด้าน อื่น ๆ เป็นปะการังที่ปรากฏบนโขดหิน มีสภาพดี เกาะกุลามีพื้นที่แนวปะการังประมาณ 0.108 ตารางกิโลเมตร


ชุมพร

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร


เกาะง่ามน้อย

          เป็นเกาะสัมปทานรังนกเช่นกัน ลักษณะทั่วไปคล้ายเกาะง่ามใหญ่แต่มีขนาดความสูงน้อยกว่าแนวปะการังแบบริม ฝั่ง พบบริเวณด้านตะวันตกของเกาะ ส่วนด้านตะวันออกจะเป็นปะการังบนโขดหิน สภาพปะการังมีสภาพสมบูรณ์ดี เกาะง่ามน้อยนี้ได้รับความนิยมในการดำน้ำแบบ SCUBA เช่นเดียวกัน บริเวณเกาะง่ามน้อยมักมีการพบเห็นฉลามวาฬ (Whale Shark) ได้บ่อยครั้ง


ชุมพร

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร


เกาะง่ามใหญ่

          เป็นเกาะสัมปทานรังนก อยู่ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดชุมพร ลักษณะของเกาะเป็นผาหินสูงชัน เกาะง่ามใหญ่มีพื้นที่แนวปะการัง 0.038 ตารางกิโลเมตร แนวปะการังปรากฏทางด้านทิศตะวันตก เป็นแนวปะการังริมฝั่งระดับความลึก 4-5 เมตร ส่วนใหญ่มีสภาพสมบูรณ์ดีจัดได้ว่าสวยที่สุดในบริเวณทะเลอ่าวไทย ส่วนทางทิศตะวันออกเป็นปะการังบนโขดหินมีสภาพสมบูรณ์ดีมาก ด้านเหนือของเกาะมีหินแพ หรือหินหลักง่ามมีสภาพปะการังบนโขดหินที่สมบูรณ์ดี เกาะง่ามใหญ่เป็นแหล่งที่มีนักท่องเที่ยวนิยมมาดำน้ำแบบ SCUBA และเป็นเกาะที่อุดมไปด้วยปะการังดำและปลาหลากหลายชนิด

เกาะจระเข้

          เกาะจระเข้เป็นเกาะขนาดเล็กในอ่าวทุ่งวัวแล่น อยู่เหนือสุดของอุทยานแห่งชาติในเขตอำเภอประทิว อยู่ห่างจากฝั่งประมาณ 11 กิโลเมตร ด้านทิศตะวันตกมีหาดหินและหาดทรายขาวนวลสะอาดตา รอบ ๆ เกาะมีแนวปะการังและดอกไม้ทะเล มีฝูงปลาหลากหลายชนิดอาศัยอยู่อย่างชุกชุม


ชุมพร

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร


เกาะทองหลาง

          เป็นเกาะสุดท้ายในเขตอำเภอเมือง มีขนาดปานกลาง เป็นเกาะที่นักท่องเที่ยวนิยมมาพักผ่อนเนื่องจากมีหาดทรายสวยงามและเหมาะ กับการเล่นน้ำ และดำน้ำดูปะการัง แนวปะการังของเกาะทองหลางก่อตัวได้รอบเกาะโดยด้านตะวันออกเป็นแนวปะการังบน โขดหิน ส่วนด้านตะวันตกเป็นแนวปะการังชายฝั่ง ในอดีตด้านตะวันตกนี้แนวปะการังจะมีความสวยงามสมบูรณ์มาก แต่ในปัจจุบันด้วยปัจจัยหลายประการ ทั้งจากกิจกรรมของมนุษย์และการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม แนวปะการังในด้านนี้ โดยเฉพาะส่วนที่เป็นแนวราบ (Reef flat) ปะการังตายลงเป็นอันมาก เหลือเพียงส่วนที่เป็นแนวขอบ (reef edge) และแนวลาดชัน (reef slope) ที่ยังคงมีสภาพสมบูรณ์อยู่ เกาะทองหลางมีพื้นที่แนวปะการังประมาณ 0.15 ตารางกิโลเมตร


ชุมพร

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร


เกาะทะลุ

          เป็นเกาะขนาดเล็กตัวเกาะปรากฏโพรงถ้ำอยู่ทั่วไป บางแห่งจะทะลุถึงกันจะเกิดเป็นสะพานหินธรรมชาติ (Natrual Bridge) แนวปะการังริมฝั่งปรากฏอยู่ทางด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ มีสภาพสมบูรณ์ปานกลาง ส่วนทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกจะเป็นปะการังบนโขดหิน มีสภาพค่อนข้างดี เกาะทะลุมีพื้นที่ปะการังประมาณ 0.026 ตารางกิโลเมตร

เกาะมาตรา

          เป็นเกาะขนาดใหญ่ในเขตอำเภอเมืองชุมพร เป็นเกาะที่มีนักท่องเที่ยวนิยมมาท่องเที่ยวและดำน้ำดูปะการัง เนื่องจากมีแนวปะการังน้ำตื้นที่สวยงาม และมีฝูงปลาชุกชุม เกาะมาตรามีพื้นที่แนวปะการังทั้งสิ้น 0.489 ตารางกิโลเมตร แนวปะการังเป็นแบบแนวปะการังชายฝั่งก่อตัวอยู่รอบเกาะมีระดับความลึกประมาณ 8 เมตร แนวปะการังมีความสวยงามมีสภาพสมบูรณ์ดีถึงดีมาก จึงเป็นแหล่งดำน้ำที่มีนักท่องเที่ยวนิยมมาเที่ยวชมดูปะการัง นักท่องเที่ยวสามารถพักค้างคืนได้เพราะมีบ้านพัก ในราคาไม่แพงและมีสิ่งมีชีวิตที่น่าสนใจคือ ปูไก่ ออกหากินเวลากลางคืน เวลาเดินจะมีเสียงร้องคล้าย ลูกไก่ เพราะเนื่องจากก้ามทั้งสองข้างเกิดการเสียดสีกัน ทำให้เกิดเสียงดังขึ้นมา


ชุมพร

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร


เกาะรังกาจิว

          เป็นเกาะสัมปทานรังนกอยู่ในเขตอำเภอเมือง มีขนาดปานกลาง เป็นเกาะที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ เคยเสด็จประภาสเพื่อทอดพระเนตรการเก็บรังนกบนเกาะนี้ จำนวน 3 ครั้ง และได้ทรงจารึกพระปรมาภิไธยย่อ จปร. ของพระองค์ไว้บนผนังหินปากถ้ำ ทางด้านใต้ ซึ่งยังคงปรากฏเป็นหลักฐานจนถึงปัจจุบัน เกาะรังกาจิว มีชายหาดสวยงาม แนวปะการังแบบชายฝั่ง ปรากฏบริเวณด้านตะวันตกของเกาะ มีสภาพสมบูรณ์ดีมาก ส่วนด้านอื่น ๆ เป็นโขดหิน พบปะการังได้บ้างเล็กน้อย รวมเป็นพื้นที่แนวปะการังทั้งสิ้น 0.025 ตารางกิโลเมตร


ชุมพร

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร


เกาะหลักง่าม

          เป็นเกาะขนาดเล็กอยู่ทางทิศใต้ของเกาะง่ามน้อย มีลักษณะเป็นหินโผล่กลางน้ำ แนวปะการังเป็นแบบแนวปะการังริมฝั่ง ปรากฎอยู่รอบเกาะมีระดับความลึก 10-12 เมตร มีสภาพสมบูรณ์ดี เกาะหลักง่ามมีพื้นที่เป็นแนวปะการัง 0.05 ตารางกิโลเมตร เป็นแหล่งดำน้ำแบบ SCUBA เช่นกัน


ชุมพร

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร


เกาะอีแรด

          บนน่านน้ำของทะเลชุมพรนอกจากจะเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลนานาชนิดแล้ว ยังมีเกาะที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ให้คล้ายกับสัตว์ป่าชนิดหนึ่ง นั่นคือแรด เนื่องจากรุปทรงของเกาะทางตอนใต้ของทะเลชุมพรแห่งนี้ไปละม้ายคล้ายคลึงกับ แรด ชาวบ้านจึงเรียกขานเกาะนี้ว่า “เกาะอีแรด” สังเกตให้ดีจะเห็นนอแรดอยู่ทางด้านทิศเหนือของเกาะไม่ไกลจากด้านเหนือของ เกาะอีแรดจะเห็นภูเขาหินปูนขนาดเล็กใหญ่แตกต่างกันไปจำนวน 3 ก้อน โผล่ขึ้นจากผิวน้ำเชื่อกันว่าเป็นหลักที่เอาไว้ผูกแรด ชาวบ้านจึงเรียกภูเขาเหล่านี้ว่า “หินหลักแรด”

          เกาะอีแรดเป็นเกาะขนาดปานกลาง ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง ห่างจากฝั่งเป็นระยะทาง 3.7 กิโลเมตร เกาะแห่งนี้เป็นเกาะหินปูน ไม่มีชายหาดหรือที่ราบสำหรับขึ้นเกาะด้านล่างเป็นโขดหินมีแนว ปะการังที่สวยงาม ดอกไม้ทะเลที่สีสวยสด และฝูงปลานานาชนิด เกาะอีแรดห่างออกไปเพียง 350 เมตร รอบ ๆ หินหลักแรดมีแนวปะการัง และดอกไม้ทะเลเป็นจำนวนมาก


ชุมพร

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร


เส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชายเลน

          บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ทางอุทยานฯ ได้จัดทำสะพานทางเดินศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนไว้บริการนักท่องเที่ยว นักเรียน นักศึกษา หรือผู้ที่สนใจสภาพป่าและสิ่งมีชีวิตในป่าชายเลน สะพานทางเดินเริ่มจากที่จอดรถ ทอดตัวผ่านศูนย์บริการนักท่องเที่ยว (ภายในอาคารมีนิทรรศการ) ผ่านแปลงปลูกป่าโกงกางที่อุทยานแห่งชาติ นักเรียน นักศึกษาและประชาชนชาวจังหวัดชุมพรร่วมกันปลูกไว้ จากนั้นลดเลี้ยวเข้าป่าชายเลนตามธรรมชาติซึ่งอยู่เลียบคลอง บริเวณริมคลองมีท่าเรือเล็ก ๆ สำหรับลงเรือข้ามคลอง เพื่อไปขึ้นสะพานทางเดินศึกษาธรรมชาติที่อยู่อีกฟากของคลอง ตลอดทางเดินจะมีป้ายสื่อความหมายเกี่ยวกับสภาพป่าและสิ่งมีชีวิตในป่าชาย เลนเป็นระยะ ๆ

          บริเวณใกล้เคียงกันบนยอดเขาโพงพาง เป็นจุดชมทิวทัศน์ที่เหมาะที่จะชมพระอาทิตย์ขึ้น-ตก ท้องทะเล เกาะต่าง ๆ เวิ้งอ่าว และพื้นป่าชายเลนที่กว้างใหญ่ สำหรับผู้ที่ต้องการพักค้างแรม ทางอุทยานฯ มีบ้านพัก สถานที่กางเต็นท์ ไว้ให้บริการบริเวณเขาโพงพาง


ชุมพร

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร


แหล่งดำน้ำ

          อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร เป็นแหล่งที่ได้รับความนิยมจากนักดำน้ำอีกแห่งหนึ่งทางฝั่งทะเลอ่าวไทย มีแหล่งดำน้ำได้แก่ เกาะง่ามใหญ่ เกาะง่ามน้อย เกาะหลักง่าม เกาะทะลุ และเกาะมาตรา สามารถพบสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลได้แก่ ปะการังแข็ง ปะการังอ่อน ปะการังดำ ถ้วยทะเล ฟองน้ำครก ดอกไม้ทะเล แมงกระพรุน ปลาในแนวปะการัง เช่น ปลาการ์ตูน ปลาผีเสื้อ ปลาสินสมุทร ปลาสลิดหินสีฟ้า ปลาตาโต หอยชนิดต่าง ๆ เช่น หอยหน้ายักษ์ หอยเบี้ยเสือดาว หอยมือเสือ หอนหน้ายัก หอยแมงป่อง เป็นต้น สิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ได้แก่ วาฬ โลมา ฉลามวาฬ กระเบนราหู และเต่าตนุ

สิ่งอำนวยความสะดวก

          มีบ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว
               
          มีบริการ ร้านอาหารจำนวน 2 แห่ง บริเวณ อ่าวทุ่งมะขามน้อย และบริเวณเขาโพงพาง
               
          ลานกางเต็นท์ : อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่อง เที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้ กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง               

          มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.
               
          หอส่องสัตว์ : ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว พร้อมอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ และนิทรรศการ จำนวน 1 แห่ง

ชุมพร

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร
 

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร

การเดินทาง   

          รถยนต์
    
          จากกรุงเทพฯ ใช้เวลาประมาณ 6-7 ชั่วโมง โดยใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (เพชรเกษม) มุ่งหน้าสู่จังหวัดชุมพร เมื่อถึงสี่แยกปฐมพร เลี้ยวซ้ายเข้ามาประมาณ 8 กิโลเมตร ก็จะถึงตัวเมืองจังหวัดชุมพร

          จากตัวเมืองจังหวัดชุมพร ไปตามทางหลวงจังหวัด หมายเลข 4001 ระหว่างอำเภอเมืองกับปากน้ำชุมพร ระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร ก่อนจะถึงปากน้ำชุมพร จะพบสามแยกทางไปหาดทรายรี ให้เลี้ยวขวา เมื่อเลี้ยวขวาเข้ามาอีก 20 เมตร จะพบทางแยกให้เลี้ยวขวาอีกครั้งไปตามถนน รพช. สายบ้านมัทรี – หาดทรายรี ประมาณ 9 กิโลเมตร ก็จะพบป้ายทางเข้าอุทยานแห่งชาติ เลี้ยวขวาประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร

          เครื่องบิน
    
          ปัจจุบันจังหวัดชุมพรมีท่าอากาศยาน เพื่อรองรับการเดินทางทางอากาศโดยตั้งอยู่ที่อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร

          รถไฟ
    
          การเดินทางโดยรถไฟ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 8 - 9 ชั่วโมง แล้วแต่ประเภทของขบวนรถสามารถเลือกการเดินทางได้ ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน เนื่องจากมีขบวนรถหลายขบวนในแต่ละวัน โดยขึ้นรถไฟได้ที่สถานีกรุงเทพฯ และสถานีธนบุรี

          รถโดยสารประจำทาง
    
          จากสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ โดยสารรถสายกรุงเทพฯ - ชุมพร ระยะทาง 500 กิโลเมตร ถึงจังหวัดชุมพร และจากจังหวัดชุมพร โดยสารรถสองแถวมายังอุทยานแห่งชาติ ระยะทาง 23 กิโลเมตร

สถานที่ติดต่อ
         
          อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร หมู่ที่ 5 บ้านโพงพาง ต.หาดทรายรี อ. เมืองชุมพร จ. ชุมพร 86120 โทรศัพท์ 0 7755 8144-6 โทรสาร 0 7755 8144 อีเมล mukochumphon@yahoo.com




ขอขอบคุณข้อมูลจาก

วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

สตูล สงบ สะอาด ธรรมชาติบริสุทธิ์







สตูล สงบ สะอาด ธรรมชาติบริสุทธิ์ (ททท.)

          สตูล คือจังหวัดที่รวมไว้ซึ่งวิถีวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ชัดเจนของพี่น้องชาว ไทยมุสลิม และหมู่เกาะงดงามที่โด่งดังระดับประเทศ เช่น เกาะตะรุเตา เกาะอาดัง-ราวี เกาะหลีเป๊ะ เกาะหินงาม ฯลฯ รวมทั้งผืนป่าดิบ โถงถ้ำ และน้ำตกน้อยใหญ่ในเขตอุทยานแห่งชาติทะเลบัน และด้วยความหลากหลายเช่นนี้ สตูล จึงนับได้ว่าเป็นเพชรอีกเม็ดหนึ่งของภาคใต้ฝั่งอันดามัน อันเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักท่องเที่ยวโดยไม่เคยเสื่อมคลาย

          จังหวัด สตูล มีเนื้อที่ประมาณ 2,479 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลอันดามัน จึงมีหมู่เกาะน้อยใหญ่กว่าร้อยเกาะอยู่ในเขตพื้นที่ของจังหวัด ภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเนินสูง มีที่ราบ ป่าเขา และลำธารทางด้านตะวันออก ตอนกลางใกล้ทะเลเป็นพื้นที่ราบลุ่มสลับกับภูเขา ส่วนชายฝั่งทะเลเป็นที่ราบและป่าชายเลน



          ชื่อ "สตูล" เพี้ยนมาจากภาษามลายู คือสโตย ซึ่งแปลว่ากระท้อน ที่ขึ้นดกดื่นอยู่ในพื้นที่นี้ โดยก่อนที่จะผนวกรวมอยู่ในราชอาณาจักรไทย สตูลเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลไทรบุรี มีชื่อเป็นภาษามลายูว่า นครสโตยมำบังสการา ซึ่งไทยเรียกว่าสตูล แปลว่า เมืองแห่งพระสมุทรเทวา

          ย้อนหลังไปก่อนช่วงรัตนโกสินทร์ สตูล ยังไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาใด ๆ จนกระทั่งถึงยุคต้นรัตนโกสินทร์ ชื่อ สตูล ปรากฏอยู่ในหนังสือพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2 โดยข้องเกี่ยวกับเมืองนครศรีธรรมราชและเมืองไทรบุรี นอกจากนี้ ชื่อ สตูล ยังปรากฏอยู่ในหนังสือพงศาวดารเมืองสงขลา และพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 ในเวลาต่อมา

          เมื่อ ถึง พ.ศ. 2440 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้รักษาเมืองไทรบุรี ปะลิส และ สตูล เป็นมณฑลเทศาภิบาล เรียกว่ามณฑลไทรบุรี จนล่วงเข้า พ.ศ. 2452 มีการปักปันเขตแดนระหว่างไทยกับสหพันธรัฐมลายู ทำให้ไทรบุรีและปะลิสตกเป็นของอังกฤษ ส่วนสตูลอยู่ในความปกครองของไทย โดยใน พ.ศ. 2453 สตูลมีฐานะเป็นเมืองจัตวา รวมอยู่ในมณฑลภูเก็ต กระทั่งประเทศไทยเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองใน พ.ศ. 2475 สตูลก็ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัดจวบจนทุกวันนี้

          จังหวัดสตูล แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 อำเภอ กับ 1 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสตูล อำเภอควนโดน อำเภอท่าแพ อำเภอควนกาหลง อำเภอละงู อำเภอทุ่งหว้า และกิ่งอำเภอมะนัง



สถานที่ท่องเที่ยวที่ไม่ควรพลาดเมื่อไปเยือน

มัสยิดกลางจังหวัดสตูล หรือ มัสยิดมำบัง

          ตั้งอยู่บริเวณมุมถนนบุรีวานิชและถนนสตูลธานี กลางเมืองสตูล เป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนา สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยพระยาสมันตรัฐบุรินทร์ (ตนกูมูฮำหมัดอาเก็ม) เป็นเจ้าเมืองสตูล (ประมาณ พ.ศ. 2539) ชื่อ มำบัง ตั้งตามชื่อเมืองสตูลในสมัยนั้นต่อมาในปี พ.ศ. 2517 ได้จัดสร้างลักษณะรูปทรงมัสยิดเป็นสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ตัวอาคารสีขาวตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลือบหินอ่อนและกระจกใส ตัวอาคารแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนนอกเป็นระเบียง มีบันไดขึ้นหอคอย ลักษณะเป็นยอดโดม สามารถมองเห็นทิวทัศน์เมืองสตูลได้ ส่วนในเป็นห้องโถงใหญ่ใช้เป็นที่ละหมาด ชั้นล่างมีห้องใต้ดิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้เสด็จทรงเปิดเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2525

          ทั้งนี้ วันเปิดทำการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น. โดยไม่เสียค่าเข้าชมแต่อย่างใด



พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสตูล คฤหาสน์กูเด็น

          ตั้งอยู่ถนนสตูลธานี ซอย 5 ตรงข้ามกับสำนักงานที่ดินจังหวัดสตูล เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น อาคารเป็นตึกแบบตะวันตก ประตูหน้าต่างรูปโค้งสถาปัตยกรรมยุโรบ หลังคาทรงปั้นหยาแบบไทยและใช้กระเบื้องดินเผารูปกาบกล้วย บานหน้าต่างเป็นแผ่นไม้ชิ้นเล็กๆ เป็นเกล็ดแนวนอน ช่องลมหน้าบนตกแต่งรูปดาวสถาปัตยกรรมแบบอิสลาม สร้างเมื่อ พ.ศ.2441 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2459 โดยพระยาภูมินารถภักดี หรือ ตวนกูบาฮารุดดินบินตำมะหงง (กูเด็น บินกูแม๊ะ) เจ้าเมืองสตูลในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

          คฤหาสถ์แห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว แต่ไม่ได้ประทับแรม และเคยเป็นบ้านพักและศาลากลางจังหวัด ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมโบราณวัตถุและจัดนิทรรศการให้ความรู้ เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมประเพณีและวิถีชีวิตของชาวสตูลในด้านต่าง ๆ ทั้งนี้ พิพิธภัณฑ์เปิดทุกวันพุธ-วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. ปิดวันจันทร์-วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ค่าเข้าชมชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 50 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 7472 3140
   




อุทยานแห่งชาติตะรุเตา

          เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลแห่งแรกของประเทศไทย มีชื่อเสียงทางด้านประวัติศาสตร์และความสวยงามของธรรมชาติ ตั้งอยู่ในทะเลอันดามัน ห่างจากตัวเมืองสตูลประมาณ 40 กิโลเมตร และห่างจากฝั่งที่ท่าเรือปากบารา 22 กิโลเมตร มีอาณาเขตทิศเหนือจดอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ทิศใต้จดทะเลที่เป็นแนวพรมแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย มีพื้นที่ทั้งเกาะและทะเลรวมกันประมาณ 1,490 ตารางกิโลเมตร

          ประกอบไปด้วยหมู่เกาะใหญ่น้อย จำนวน 51 เกาะ  มีเกาะขนาดใหญ่ 7 เกาะ ได้แก่ เกาะตะรุเตา เกาะอาดัง เกาะราวี เกาะหลีเป๊ะ เกาะกลาง เกาะบาตวง และเกาะบิสสี  แบ่งออกเป็น 2 หมู่เกาะใหญ่ คือหมู่เกาะตะรุเตา และหมู่เกาะอาดัง-ราวี ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2517 และ ได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโก ในปี พ.ศ. 2525 ให้เป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียน (ASEAN Heritage Parks and Reserves) ช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการเดินทางท่องเที่ยวอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน – เมษายน

          ทั้งนี้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช โทร. 0 2562 0760 www.dnp.go.th หรือ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติตะรุเตา บริเวณท่าเรือปากบารา ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล 91110 โทร. 0 7478 3485, 0 7478 3597, 0 7478 1285 หรือ หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติตะรุเตาที่ ต.ต.1 (อ่าวพันเตมะละกา) บนเกาะตะรุเตา โทร. 0 7472 9002-3

เกาะหลีเป๊ะ

เกาะหลีเป๊ะ
   
          เกาะสิเป๊ะ หรือ เกาะหลีเป๊ะ อยู่ทางใต้ของเกาะอาดัง 2 กิโลเมตร มีชุมชนชาวเลอาศัยอยู่หลายครัวเรือน ส่วนใหญ่มีอาชีพทำการประมง ในวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 6 และเดือน 12 ตลอด 3 วัน 3 คืน ชาวบ้านทีมีเชื้อสายชาวเลจะร่วมกันจัดงานรื่นเริง และที่สำคัญที่สุดคือ ชาวบ้านจะช่วยกันต่อเรือด้วยไม้ระกำ และประกอบพิธีลอยเรือด้วยเป็นความเชื่อว่าเป็นการเสี่ยงทายโชคชะตาในการ ประกอบอาชีพประมง

          จุดเด่นของ เกาะหลีเป๊ะ คือ ความเป็นธรรมชาติของปะการังรอบเกาะ มีเวิ้งอ่าวที่สวยงาม หาดทรายละเอียดนิ่มเหมือนแป้ง มีอ่าวที่สวยงามชื่อ "อ่าวพัทยา"และ "หาดชาวเล" มีลักษณะโค้งเว้า ทรายขาวละเอียด ซึ่งทั้งสองหาดนี้สามารถเดินถึงกันได้โดยใช้เวลาประมาณ 15 นาที และยังมีบริการบ้านพักของเอกชนคอยบริการนักท่องเที่ยวอีกด้วย นักท่องเที่ยวสามารถเช่าเรือไปยังเกาะต่าง ๆ ได้ในราคาลำละ 1,500-1,800 บาท นั่งได้ 8-9 คน โดยติดต่อกับทางรีสอร์ทที่มีบริการทัวร์




อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา

          เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ชายฝั่งตะวันตกทางใต้ของไทย บริเวณช่องแคบมะละกา ฝั่งทะเลอันดามัน เกาะเภตรา มีลักษณะคล้ายเรือสำเภา ครอบคลุมพื้นที่ชายหาดตลอดแนวฝั่งทะเลในท้องที่ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู ตำบลขอนคลาน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล และตำบลสุกร อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาลาดชันสูง มีพื้นที่ราบบริเวณหุบเขาและชายหาด มีพื้นที่ทั้งบนบกและทะเล ประมาณ 494.38 ตารางกิโลเมตร ได้ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2527 อุทยานฯ นี้มีป่าไม้ ภูเขา สัตว์ป่า ปะการังหลากสีสวยงาม ประกอบด้วยเกาะน้อยใหญ่ที่สำคัญต่าง ๆ คือ เกาะเภตรา เกาะลิดี เกาะบุโหลน เกาะเขาใหญ่ เกาะละโละแบนแต เกาะเหลาเหลียง และเกาะเปรามะ

          สถานที่ท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา อ่าวนุ่น เป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานฯ อยู่บนโค้งเวิ้งอ่าวธรรมชาติที่มีบรรยากาศเงียบสงบ มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยวและบ้านพัก หาดราไว เป็นชายหาด ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 และ 4 ตำบลขอนคลาน อำเภอทุ่งหว้า ห่างจากที่ทำการทุ่งหว้า ประมาณ 26 กิโลเมตร เข้าตรงทางแยกบ้านวังตง มีต้นสนอยู่ตลอดแนวชายหาด มีภูมิทัศน์ที่เหมาะสำหรับตั้งค่ายพักแรม เกาะลิดีเล็ก อยู่ห่างจากที่ทำการฯ (อ่าวนุ่น) ประมาณ 5 กิโลเมตร และห่างจากท่าเรือปากบาราประมาณ 7 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์ฯ บนเกาะมีชายหาดทรายขาว น้ำใสเหมาะจะเล่นน้ำพักผ่อน ด้านข้างของเกาะมีป่าชายเลนที่สมบูรณ์มีสัตว์น้ำหลายชนิดอาศัยอยู่ นักท่องเที่ยวที่จะพักบนเกาะต้องนำเต็นท์และอาหารมาเอง เพราะยังไม่มีร้านอาหารบริการ ส่วนเกาะลิดีใหญ่ ซึ่งอยู่ข้างเกาะลิดีเล็ก เป็นเกาะสัมปทานรังนกนางแอ่น สนใจติดต่อเช่าเรือได้ที่  ที่ทำการอุทยานฯ ค่าเช่าเรือประมาณ 700 บาท



          เกาะบุโหลน อยู่ห่างจากท่าเรือปากบาราประมาณ 22 กิโลเมตร เป็นเกาะที่มีหาดทรายขาวสะอาด น้ำทะเลใสสวยเล่นน้ำได้ มีจุดดำน้ำตื้นและดำน้ำลึกกระจายอยู่หลายจุด เช่น เกาะอายำและเกาะหินขาว ยามค่ำคืนบริเวณชายหาดมีปูเสฉวน ปูลม ให้ดู และยังเป็นจุดดูพระอาทิตย์ตกที่สวยงามจุดหนึ่งด้วย 

          ทั้งนี้ ในเขตอุทยานฯ มีบ้านพัก และสถานที่ตั้งเต็นท์ไว้บริการนักท่องเที่ยว ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา (อ่าวนุ่น) 298 หมู่  4 ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล  91110 โทร. 0 7478 3074 (ผู้ที่จองจะต้องมาติดต่อที่อุทยานฯ ด้วยตนเอง หรือมีหนังสือแจ้งล่วงหน้า) www.dnp.go.th



อุทยานแห่งชาติทะเลบัน

          ตั้งอยู่ที่บ้านวังประจัน ตำบลวังประจัน อยู่ห่างจากอำเภอเมืองสตูล 40 กิโลเมตร อุทยานฯ มีเนื้อที่ 122,500 ไร่ โดยรวมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติกุปังปุโต๊ะและหัวกระหมิงและพื้นที่ป่าควนบ่อ น้ำปูยู ในท้องที่ตำบลบ้านควน ตำบลปูยู อำเภอเมือง ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2523 คำว่า "ทะเลบัน" มาจากคำว่า "เลิด เรอบัน" เป็นภาษามลายูแปลว่า ทะเลยุบหรือทะเลอันเกิดจากการยุบตัวของแผ่นดิน

          อุทยานแห่งชาติทะเลบัน เกิดจากการยุบตัวของพื้นดินระหว่างเขาจีนและเขามดแดง เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่มีเนื้อที่ประมาณ 63,350 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับซับซ้อน อุดมไปด้วยพืชพรรณป่าไม้ที่ขึ้นอย่างหนาแน่น นอกจากนี้ ยังมีสัตว์ต่าง ๆ เช่น เลียงผา ช้าง สมเสร็จ หมูป่า ลิง ชะนี และ “เขียดว๊าก” (หมาน้ำ) ซึ่งเปรียบเสมือนสัญลักษณ์แห่งบึงทะเลบัน รูปร่างคล้ายกบและคางคก แต่มีหาง ส่งเสียงร้องคล้ายลูกสุนัข จะมีชุกชุมตามริมบึงโดยเฉพาะในฤดูฝน สำหรับผู้ชื่นชมการดูนกก็ไม่ควรพลาด เพราะมีนกหลายชนิดให้ดู เช่น นกแอ่นฟ้าเคราขาว นกปรอดคอลาย นกกางเขนน้ำหลังแดง นกหัวขวาน เป็นต้น

          สถานที่ท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติทะเลบัน ได้แก่ บึงทะเลบัน เป็นบึงน้ำจืดขนาดใหญ่กลางหุบเขา ขนาบด้วยเทือกเขาจีนและเขาวังประ มีเนื้อที่ประมาณ 125 ไร่ มีปลาน้ำจืดและหอยชุกชุม รอบบึงจะมี “ต้นบากง” ขึ้นอยู่หนาแน่น ทางอุทยานฯ ได้สร้างศาลาท่าน้ำไว้ให้นักท่องเที่ยวได้นั่งพักผ่อนและมีทางเดินไม้รอบบึง น้ำตกยาโรย เป็นน้ำตกที่เกิดจากต้นน้ำในป่าหัวกะหมิง มี 9 ชั้น แต่ละชั้นเป็นแอ่งสามารถเล่นน้ำได้ เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวในท้องถิ่น การเดินทาง ไปตามทางหลวงหมายเลข 4184 (สายควนสะตอ-วังประจัน) กิโลเมตรที่ 14–15 ประมาณ 6 กิโลเมตร จะมีทางแยกเข้าไปอีก 700 เมตร และ น้ำตกโตนปลิว มีต้นน้ำมาจากภูเขาจีน เป็นน้ำตกขนาดใหญ่มีหลายชั้น ไหลจากหน้าผาสูง สวยงามมาก การเดินทาง ช้เส้นทางหมายเลข 4184 (สายควนสะตอ-วังประจัน) กิโลเมตรที่ 9–10 หรือห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 10 กิโลเมตร จะมีทางลูกรังแยกไปอีก 3 กิโลเมตร

          ทั้งนี้ อุทยานฯ มีบ้านพักและร้านสวัสดิการ (เปิดในเวลาราชการ) ไว้บริการนักท่องเที่ยว ส่วนเต้นท์ต้องนำมาเอง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติทะเลบัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล 91160 โทรศัพท์ 0 7472 2737, 08 3533 1710 อีเมล์ thalebansatun@hotmail.com

          การเดินทางไปอุทยานฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 406 ระยะทาง 80 กิโลเมตร ถึงสามแยกควนโดนซ้ายมือจะมีป้ายบอกทางเข้าอุทยานเลี้ยวซ้ายทางหลวงหมายเลข 4184 ไปอีกประมาณ 20 กิโลเมตร นอกจากนั้นยังมีรถโดยสารประจำทางไปสตูล ลงสามแยกควนสะตอ ต่อรถสองแถวเล็ก สายสตูล-วังประจัน รถออกชั่วโมงละ 1 คัน ค่าโดยสารคนละ 20 บาท



หมู่เกาะสาหร่าย

          ห่างจากท่าเรือเจ๊ะบิลัง อ.เมือง ประมาณ 12 กิโลเมตร นั่งเรือ 2 ชั่วโมง หมู่เกาะสาหร่าย นี้มี 2 เกาะใกล้กัน ชาวเมืองเรียกเกาะยะระโตด และยะระโตดนุ้ย มีชายหาดโดยรอบเกาะ ใกล้เกาะยะระโตด มีเกาะหาดหอยงาม ซึ่งคลื่นซัดเปลือกหอยไปกองไว้เป็นเกาะ คล้ายสุสานหอย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0 7521 5867 และ 0 7521 1058

เกาะเขาใหญ่

          อยู่ห่างจากท่าเรือปากบาราประมาณ 3 กิโลเมตร บนเกาะมีอ่าวชื่อนะปุลา จุดเด่นของเกาะเขาใหญ่ คือ ประติมากรรมธรรมชาติที่คล้ายกับปราสาทหิน มีสะพานธรรมชาติยื่นโค้งไปในทะเล ยามน้ำลดสามารถพายเรือลอดได้ นอกจากนี้ยังมีสถานที่เพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาของประมงจังหวัดสตูล ตั้งอยู่ใกล้เกาะเขาใหญ่ซึ่งนักท่องเที่ยวนิยมแวะไปชมมากเช่นกัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา โทรศัพท์ 0 7478 3074



Tips ท่องเที่ยว

          ฤดูกาลเที่ยวหมู่เกาะในสตูล คือ ช่วงเดือนพฤศจิกายน-เมษายน ซึ่งเป็นช่วงอับคลื่น อย่างไรก็ตาม ควรตรวจสอบสภาพอากาศอีกครั้งก่อนเดินทาง เพราะอาจมีมรสุมนอกฤดูพัดผ่านเข้ามา

          เที่ยว เกาะหลีเป๊ะ ให้สนุกและได้ซึมซับวัฒนธรรมของชาวไทยใหม่ (ชาวเล) ควรไปให้ตรงกับวันขึ้น 12-15 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งตรงกับช่วงประกอบพิธีลอยเรือของชาวไทยใหม่

          นี่ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เรายกตัวอย่างมาเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้ว "สตูล" ยังมีที่ท่องเที่ยวดี ๆ แจ่ม ๆ อีกมากมาย ถ้ามีเวลาก็อย่าลืมแวะเวียนไปเที่ยวกันนะจ๊ะ...