เที่ยวป่าแบบอนุรักษ์?
ในช่วงเวลาที่ย่ำเท้าก้าวสู่พงไพร พบเห็นเรื่องราวมากมาย ซึ่ง บางครั้งเรื่องราวและภาพที่เห็นอยู่เบื้องหน้าสะท้อนอารมณ์เกินคำบรรยาย ต้นไม้ใหญ่ถูกโค่นโดนเลื่อยแล่แปรสภาพ ซากสัตว์ป่าที่ถูกล่าแล่เนื้อเถือหนังเหลือทิ้งไว้เพียงภาพโครงกระดูก หรือร่องรอยกับดักต่างๆ การท่องเที่ยวในพื้นที่แบบนี้มีน้อยคนจะได้เดินผ่านเข้าไปหากไม่ได้ใช้คนนำ ทางที่มีใจอนุรักษ์จริงๆ
ในปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวที่สนใจการเดินป่าแบบนี้มากขึ้น การได้บันทึกภาพและบอกเล่าเรื่องราวที่ตัวเองพานพบผ่านเวบไซด์ ผ่านการฟอร์เวิร์ดเมล ทำให้ข่าวสารเรื่องราวต่างๆพรั่งพรูสู่สายตาผู้คนอีกมากมาย แต่ทว่าการส่งเสริมการท่องเที่ยวแนวนี้มีแต่คำโปรโมทครับ หาใช่เป็นจริงไม่ งบประมาณการท่องเที่ยวที่สนับสนุนกิจกรรมแบบนี้มีน้อยถึงน้อยมาก ทั้งๆทีในความเป็นจริงการส่งเสริมกิจกรรมการเดินป่านั้นใช้เพียงการประสาน งานไปในแต่ละที่ละถิ่นให้นักท่องเที่ยวเท่านั้น เพราะคนที่รักและรักษ์ป่ายังมีมากมาย ใฝ่ฝันจะเดินทางและสัมผัสไอดินกลิ่นป่าอย่างไม่กลัวความยากลำบาก แต่การประสานงานกับทางเจ้าหน้าที่นั้นบางทียากเย็นนัก จึงทำให้หลายคนท้อแท้
ใน ขณะเดียวกันการทุ่มงบโปรโมทการท่องเที่ยวในสิ่งที่เห็นเช่นดึงนักกอล์ฟมาจาก ต่างประเทศ จัดแข่งตีลูกกลมๆลงรูดูหรูหราเหลือเกิน งบประมาณ 40-50 ล้าน คนเดินป่าบ้าใบคงได้แต่นั่งมองค้อนขวับๆใน ขณะที่คนเดินป่าพวกนี้เมื่อคราใดก้าวเท่าผ่านภูผา จะใช้คนในพื้นที่ทั้งช่วยแบกข้าวของ และนำทาง เป็นการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น หากพวกเขามีรายได้และถูกปลูกฝังเรื่องการอนุรักษ์ป่าจากนักท่องเที่ยวหลายๆ กลุ่ม พวกเขาก็คงจะสอนลูกหลายให้ช่วยกันอนุรักษ์ผืนป่าต่อไป “เมื่อก่อนป่าเป็นไงบ้างน้า”ผมเอ่ยปากถามน้าใจเจ้าของร้านอาหารครัวม่อนไข่ บ้านผาปก สวนผึ้งราชบุรี “เมื่อ ก่อนต้นไม้ที่นี่มีแต่ตัด และตัด จนวันนึงมีกลุ่มคนจากกรุงเทพมาเห็นแล้วบอกว่า จะไปตัดทำไมเก็บเอาไว้ แล้วที่นี่จะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวรายได้จะวิ่งมาหาชุมชน” น้าใจตอบขณะเอาถุงพลาสติกคลุมหัวขณะฝนกระหน่ำบนเขากระโจม “ต้นไม้ต้นนึงกว่าจะโตได้หลายสิบปี แต่ใช้เวลาตัดไม่กี่วินาทีครับ” น้าใจเสริม “วันนี้ผมประจักษ์แล้ว ตราบใดมีป่าก็ยังจะมีคนมาเที่ยว ผมขายของได้ รับจ้างนักท่องเที่ยวได้” น้าใจพูดไปยิ้มไป การอนุรักษ์อาจจะไม่เห็นผลภายในวันเดียว คงต้องใช้เวลาครับ
วันนี้จึงขอเชิญชวนคนที่มีหัวใจรักษ์ป่า ย่างเท้าก้าวเดินเคยมีคำพูดนักเขียนท่านนึง อ.อำนวย อินทรารักษ์ เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมเขาใหญ่ ( เจ้าพ่อทาก )บอกไว้น่าฟังว่า คนเราที่เดินเข้าป่าไปนี้จะไปรับวัคซีน วัคซีนที่เกิดจากเห็ดพิษเพราะในป่าจะมีเห็ดราพิษมากกว่าเห็ดที่กินได้ เมื่อเราสูดดมสปอร์ของเห็ดพิษเข้าไป ร่างกายก็จะสร้างภูมิคุ้มกันเป็นผลประโยชน์จากการเดินป่าอีกอย่างนึงครับ การเที่ยวป่าหากรู้จักป่าจะสนุกมากครับ ทั้งเรื่องต้นไม้ใบหญ้า แกะรอยสัตว์ป่า แมลงป่ายามค่ำคืน แต่ย้ำเตือนผองเพื่อนอย่าเคลื่อนย้ายสิ่งที่อยู่ในป่ามาสู่เมืองก็เท่านั้น ที่ฝากไว้ครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น