อำเภอเชียงแสน
เมืองโบราณเชียงแสน เชียงแสน เคยเป็นศูนย์กลางอาณาจักรล้านนาในยุคแรก ๆ และเป็นเมืองเก่าแก่มากแห่งหนึ่งในภาคเหนือ เดิมชื่อเวียงหิรัญนครเงินยาง แม้ปัจจุบันยังมีซากกำแพงเมืองโบราณ 2 ชั้น และโบราณสถานหลายแห่ง ปรากฏอยู่ในทั้งในและนอกตัวเมือง ภายในเขตกำแพงเมืองเก่าประกอบด้วยวัดร้างและโบราณสถานที่สร้างในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 18-21 สลับกับบ้านเรือนชาวบ้าน การเที่ยวชมควรเริ่มต้นจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน ใกล้กับประตูป่าสัก ติดกันเป็นวัดเจดีย์หลวง ฝั่งตรงข้ามจะเป็นศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยวเชียงแสน จากจุดนี้สามารถไปเที่ยวชมโบราณสถานต่าง ๆ ได้ในรัศมีไม่เกิน 1.5 กิโลเมตร
อาณาเขต เมื่อแรกสร้าง มีพื้นที่ครอบคลุมบริเวณที่ราบลุ่มเชียงแสนทั้งหมด มีอาณาเขต
- ทิศเหนือติดต่อกับเมืองกายสามเท้า
- ทิศใต้ติดต่อกับเมืองเชียงราย ที่ตำบลแม่เติม
- ทิศตะวันออกติดต่อกับเมืองเชียงของที่ตำบลเชียงชี
- ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับแดนฮ่อที่ตำบลเมืองหลวง และ
- ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดต่อกับเมืองฝาง ที่กิ่วคอสุนัข หรือกิ่วสไต
ประวัติศาสตร์เชียงแสน จังหวัดเชียงราย
เมืองประวัติศตร์ที่ผสมผสานระหว่างอดีตกับปัจจุบันในเขตจังหวัดเชียงรายที่สำคัญ ได้แก่ เมืองเชียงแสน
เนื่องจากมีประวัติความเป็นมาค่อนข้างชัดเจน และยังปรากฏร่องรอยโบราณวัตถุโบราณสถานหลายแห่ง
จากหลักฐานโบราณคดีสันนิษฐานว่า การสร้างเมืองคงเริ่มขึ้นระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เป็นต้นมา
ตามที่ระบุไว้ในชุนกาลมาลีปกรณ์ และพงศาวดารโยนก เพราะศักราชดังกล่าวใกล้เคียงกันใกล้เคียงกันมาก รวมทั้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสืบเนื่องกันมาสัมพันธ์กับรูปแบบอายุสมัยของของโบราณวัตถุสมัย
ประวัติศ่สตร์ที่สร้างขึ้นทั้งในและนอกตัวเมืองซึ่งมีอายุหลังกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ลงมาทั้งสิ้น
พ .ศ.๒๔๘๒ทางราชการเปลี่ยนชื่ออำเภอเชียงแสนเป็นแม่จันและย้ายที่ทำการไปอยู่ที่แม่จันห่าง
จากที่ว่าการอำเภอเดิมประมาณ ๓๐ กิโลเมตร ตำบลที่ตั้งที่ว่าการอำเภอนี้เรียกว่าเชียงแสนใหม่ หรือเชียงแสนแม่จัน ส่วนเมืองเชียงแสนนั้นมีฐานะเป็นกิ่งอำเภอ
ต่อมาในปี พ . ศ . ๒๕๐๐ จึงยกฐานะเป็นอำเภอเชียงแสน และรัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการฟื้นฟูบูรณะอำเภอเชียงแสนขึ้น โดยมอบหมายให้กรมศิลปากรดำเนินการฟื้นฟูบูรณะและอนุรักษ์โบราณสถานที่สำคัญ ในเมืองเชียงแสน ตั้งแต่พ. ศ . ๒๕๐๐ เป็นต้นมา ปัจจุบันร่องรอยของโบราณสถานในอำเภอเชียงแสนที่หลงเหลือให้เห็น มักเป็นซากปรักหักพังของสิ่งก่อสร้างในพุทธศาสนา ได้แก่ พระเจดีย์ และพระวิหาร ซึ่งส่วนใหญ่มีรายชื่อปรากฏอยู่ในพงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน และมีวัดอยู่ทั้งสิ้น ๑๔๐ วัด แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม ได้แก่วัดในเมือง ๗๖ วัด และวัดนอกเมือง ๖๕ วัด การเรียกชื่อวัดต่าง ๆ ได้ยึดถือจากตำแหน่งที่ระบุไว้ในพงศาวดารล้านนาซึ่งเขียนขึ้นภายหลัง โบราณสถานที่สำคัญและน่าสนใจ ได้แก่
วัดพระธาตุจอมกิตติ
ตั้งอยู่บนดอยจอมกิตติ นอกเมืองเชียงแสนไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ ๑ . ๗ กิโลเมตร สิ่งสำคัญภายในวัด ได้แก่ เจดีย์จอมกิตติที่ตั้งบนฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเตี้ย ๆ ถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวคว่ำย่อมุมซ้อนกันสี่ชั้นรองรับเรือนธาตุย่อมุมเช่นกัน มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นประทับยืนทั้งสี่ด้าน ส่วนยอดทำเป็นกลีบมะเฟืองรองรับปล้องไฉนและปลียอด ส่วนเจดีย์จอมแจ้งและเจดีย์สวนสนุกนั้นอยู่ในบริเวณใกล้เคียง ตำนานการสร้างพระธาตุจอมกิตติค่อนข้างจะสับสนเพราะมีการสร้างถึง ๒ ครั้งกล่าวคือ ครั้งแรก พระเจ้าพังคราชและพระเจ้าพรหมมหาราช พระราชโอรส โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อพ . ศ . ๑๔๘๓ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุกระดูกหน้าผาก กระดูกอก และกระดูกแขนของพระองค์ สมัยเดียวกับการสร้างพระธาตุจอมทองของเมืองเชียงราย ครั้งที่ ๒ พระเจ้าสุวรรณคำล้าน เจ้าเมืองเชียงแสน ให้หมื่นเชียงสงสร้างขึ้นเมื่อปี พ . ศ . ๒๐๓๐ ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระยอดเชียงราย ก่อสร้างเจดีย์ครอบองค์เดิม ต่อมาพระธาตุชำรุด ทรุดโทรมมาก เจ้าฟ้าเฉลิมเมืองพร้อมด้วยคณะศรัทธาได้บูรณะปฏิสังขรณ์อีกเมื่อปี พ . ศ . ๒๒๒๗ จากรูปทรงสถาปัตกรรมขององค์เจดีย์ที่ปรากฎในปัจจุบัน พระเจดีย์องค์นี้คงไม่เก่าไปกว่าพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ส่วนพระพุทธรูปประทับยืนในซุ้มทิศ ( ส่วนที่เป็นของเดิม ) คงจะซ่อมเสริมสร้างขึ้น ภายหลังระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๒ – ๒๓ ปัจจุบันเจดีย์องค์นี้ได้รับการบูรณะเสริมความสร้างมั่นคงและปิดทองแผ่นทอง จังโกใหม่
วัดพระธาตุผาเงา
ตั้งอยู่นอกเมืองทางทิศใต้ ห่างจากที่ว่าการอำเภอเชียงแสนไปตามเส้นทางเชียงของ - เชียงแสน ประมาณ ๕ กิโลเมตร อยู่ตรงข้ามโรงเรียนบ้านสบคำ เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม มีเนื้อที่ประมาณ ๑๔๓ ไร่ สิ่งสำคัญภายในวัด ได้แก่ พระธาตุผาเงา ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงระฆังขนาดเล็กตั้งอยู่บนก้อนหินใหญ่ ซึ่งบูรณะขึ้นใหม่ แต่เดิมเป็นวัดร้าง ชาวบ้านสบคำต้องการย้ายวัดสบคำจากที่เดิมที่ถูกแม่น้ำโขงกัดเซาะพังทลาย จึงมาฟื้นฟูวัดร้างนี้ขึ้นเป็นวัดดังเดิม พ . ศ . ๒๕๒๑ วิหารหลังปัจจุบันสร้างทับวิหารเดิม ภายในวิหารแห่งนี้ได้พบพระพุทธรูปปูนปั้น บริเวณหน้าตักพระประธานที่เรียกว่า หลวงพ่อผาเงา เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๑๙ สืบเนื่องมาจากตอนที่คณะศรัทธาวัดพระธาตุผาเงาจะทำพิธียกพระประธานขึ้น เพื่อทำการบูรณะ ระหว่างการดำเนินการได้ ค้นพบพระพุทธรูปดังกล่าวถูกฝังใต้ฐานชุกชีพระประธานใหญ่ พระพุทธรูปองค์นี้ประทับนั่งขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย พระพักตร์รูปไข่ พระหนุเป็นปม พระรัศมีเป็นเปลว แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของศิลปะสุโขทัย มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๐ บนเขาด้านหลังวัด เป็นที่ตั้งของพระบรมนิมติเจดีย์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อร่วมฉลองกรุงรัตน โกสินทร์ ๒๐๐ ปี และเทิดพระเกียรติพระมหากษัตริย์ไทย โดยมีท่านผู้หญิงอุศนา ปราโมช เป็นประธาน พร้อมคณะศรัทธาอีกหลายท่าน นอกจากนี้ บนยอดเขายังสามารถมองเห็นทัศนียภาพอันสวยงามของตัวเมืองเชียงแสนได้โดยรอบ
สามเหลี่ยมทองคำ
หมายถึงพื้นที่รอยต่อระหว่างสามประเทศ ได้แก่ประเทศไทยลาวและพม่ามีลักษณะเป็นพื้นที่สามเหลี่ยมบรรจบกัน โดยมีแม่น้ำโขงตัดผ่านชายแดนไทยและลาว นับเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญของภูมิภาคนี้สามเหลี่ยมทองคำ ในส่วนของประเทศไทยอยู่ในเขตอำเภอเชียงแสนจังหวัดเชียงราย มีท่าเรือขนาดเล็กขนส่งสินค้าไปยังประเทศจีนและลาว เมื่อมองจากฝั่งไทยไปทางตะวันออกเฉียงเหนือจะเห็นหมู่บ้านในฝั่งลาวอย่าง ชัดเจน ส่วนทางพม่าตั้งอยู่ด้านตะวันตกนั้นไม่มีหมู่บ้านหรือสิ่งก่อสร้างให้เห็นใน ระยะใกล้ๆ บริเวณดังกล่าวยังเป็นที่บรรจบกันของแม่น้ำโขงและแม่น้ำรวกเรียกว่าสบรวก บริเวณนี้เคยมีการค้าฝิ่นโดยแลกเปลี่ยนกับทองคำมีทิวทัศน์สวยงาม โดยเฉพาะยามเช้าที่ดวงอาทิตย์ขึ้นท่ามกลางสายหมอก เดิมสามเหลี่ยมทองคำเป็นที่รู้จักในฐานะเป็นแหล่งท่องเที่ยวรอยต่อระหว่าง ประเทศ แต่ในปัจจุบันมีความสำคัญในทางเศรษฐกิจมากขึ้น เนื่องจากเป็นแหล่งขนถ่ายสินค้าที่สำคัญ อีกแห่งหนึ่งของไทย นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางไปยังสามเหลี่ยมทองคำในช่วงฤดูหนาว และไปถ่ายรูปกับป้าย "สามเหลี่ยมทองคำ"ที่ติดตั้งไว้ริมฝั่งแม่น้ำโขงด้วยนอกจากนี้ยังนิยมนั่ง เรือเที่ยวชมทิวทัศน์จุดบรรจบของพรมแดนไทยลาวและพม่า ค่าเช่าเรือประมาณ300-400บาท(นั่งได้6คน) นอกจากนี้ยัง
สามารถล่องแม่น้ำโขงไปเที่ยวทางตอนใต้ของประเทศจีน เช่นสิบสองปันนาคุนหมิงได้ด้วย แต่หากต้องการชมทิวทัศน์มุมกว้างของสามเหลี่ยมทองคำบริเวณสบรวก ต้องขึ้นไปบนดอยเชียงเมี่ยงที่อยู่ริมน้ำโขง
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน
ตั้งอยู่ในตัวเมืองเชียงแสน เป็นที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุที่ได้จากบริเวณเมืองโบราณเชียงแสนและพื้นที่ ใกล้เคียงเช่นลวดลายปูนปั้นฝีมือล้านนาพระพุทธรูปและศิลาจารึกจากเชียงแสน และจากจังหวัดพะเยา พร้อมทั้งให้ข้อมูลทางด้านวิชาการเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดี การตั้งถิ่นฐานของ
ชุมชนและประวัติการสร้างเมืองเชียงแสนนอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงศิลปะพื้นบ้านของชาวไทยใหญ่ ไทยลื้อและชาวเขาเผ่าต่างๆ ได้แก่เครื่องเขินเครื่องดนตรีเครื่องประดับ เป็นต้น เปิดให้เข้าชมทุกวัน พุธ-อาทิตย์ ยกเว้นวันจันทร์ อังคารและวันหยุดนักขัตฤกษ์ระหว่างเวลา 09.00-16.00 น.เก็บค่าเข้าชมชาวไทยคนละ 10 บาท ชาวต่างประเทศคนละ 30 บาท
วัดพระธาตุเจดีย์หลวง
ตั้งอยู่ติดกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน สร้างโดยพระเจ้าแสนภูเมื่อประมาณกลางพุทธศตวรรษที่19โบราณสถานประกอบด้วย เจดีย์ประธานทรงระฆังแบบล้านนาเป็นเจดีย์ใหญ่ที่สุดในเชียงแสน นอกจากนี้ยังมีพระวิหารที่เก่ามากซึ่งพังทลายเกือบหมดแล้ว และเจดีย์รายแบบต่างๆ4 องค์
วัดพระเจ้าล้านทอง
วัดนี้ตั้งอยู่ในเขตกำแพงเมือง เจ้าทองงั่ว ราชโอรสพระเจ้าติโลกราชเป็นผู้สร้างเมื่อ พ.ศ. 2032 ได้ทรงหล่อพระพุทธรูปองค์หนึ่งหนักล้านทอง(1,200กิโลกรัม)ขนานนามว่าพระเจ้า ล้านทองเป็นพระประธาน ในวัดนี้ยังมี พระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งได้มาจากวัดทองทิพย์ซึ่งเป็นวัดร้างเรียก
กันว่าพระเจ้าทองทิพย์ เป็นพระพุทธรูปทองเหลืองพระพักตร์งดงามมาก ลักษณะเป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย
วัดป่าสัก
อยู่ห่างจากอำเภอเชียงแสนประมาณ 1 กิโลเมตร เขตตำบลเวียง พระเจ้าแสนภูทรงสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1838 และให้ปลูกต้นสักล้อมกำแพงจำนวน300ต้นจึงได้ชื่อว่า“วัดป่าสัก”ทรงตั้งพระ พุทธโฆษาจารย์เป็นสังฆราชจำพรรษาณอารามแห่งนี้ ภายในวัดมีโบราณสถานที่สำคัญคือ เจดีย์ประธานทรงมณฑปยอดระฆังควํ่า ตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นอันวิจิตร เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุกระดูกตาตุ่มข้างขวาจากเมืองปาฏลีบุตร
วัดสังฆาแก้วดอนหัน อยู่ห่างจากอำเภอเชียงแสนประมาณ 1 กิโลเมตร เขตตำบลเวียง พระเจ้าแสนภูทรงสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1838 และให้ปลูกต้นสักล้อมกำแพงจำนวน300ต้นจึงได้ชื่อว่า“วัดป่าสัก”ทรงตั้งพระ พุทธโฆษาจารย์เป็นสังฆราชจำพรรษาณอารามแห่งนี้ ภายในวัดมีโบราณสถานที่สำคัญคือ เจดีย์ประธานทรงมณฑปยอดระฆังควํ่า ตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นอันวิจิตร เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุกระดูกตาตุ่มข้างขวาจากเมืองปาฏลีบุตร
อยู่ถนนเลียบแม่น้ำเชียงแสน-เชียงของใกล้วัดพระธาตุจอมกิตติ มีประวัติตามตำนานว่า สร้างโดยพระเจ้าลวจักราชเมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 12 แต่หลักฐานที่พบแสดงว่ามีอายุอยู่ในช่วงไม่เกินพุทธศตวรรษที่ 21 กรมศิลปากรได้ขุดพบหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญ
มากมาย โดยเฉพาะภาพขูดขีดบนแผ่นอิฐเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับทศชาติตอนเวสสันดรชาดก เช่น พระเวสสันดรเดินป่า ชูชกเฝ้าพระเวสสันดรเป็นต้น
ลักษณะของภาพเป็นการเขียนลงบนอิฐก่อนการเผา ที่น่าสนใจคือ อิฐดังกล่าวถูกนำมาก่อเป็นผนังและฉาบปูนปิดทับ คงเนื่องจากความศรัทธาของ
ชาวบ้านผู้สร้างวัดถวายมากกว่าเจาะจงให้คนมาชม นอกจากนี้ยังพบชิ้นส่วนจิตรกรรมฝาผนังที่หลุดพังมาจากผนังวิหาร มีสภาพแตกหัก แต่ยังคง
เหลือลักษณะของสีและตัวภาพซึ่งใช้สีชาดและสีแดงเพียง 2 สี นับได้ว่าเป็นการค้นพบที่สำคัญทางวิชาการอย่างยิ่ง
แนวกำแพงเมือง
เรียงตัวไว้รายล้อม ชวนให้นึกถึงพญาแสนภู (กษัตริย์ราชวงค์มังรายลำดับที่3) พระราชนัดดาของพญามังราย (ปฐมกษัตริย์ล้านา) ทรงสถาปนาเมืองเชียงแสนแห่งนี้ขึ้นในปี พ.ศ. 1871 หลังจากถูกทิ้งร้างด้วยความรุ่งเรืองใหม่ของอาณาจักรล้านาที่มีเวียงพิงค์ (เชียงใหม่) เป็นราชธานี โดยมีขนาดกว้าง 700วา ยาว 1,500 วา มีป้อม 8 แห่ง เมืองเชียงแสนถูกสร้างขึ้นบนเมืองเก่าที่ร้างไปแล้ว คาดว่าเป็นการสร้างทับ เมืองเงินยางในอดีตทำให้บางครั้งเราได้ยินคนพูดถึงเมืองว่า เมืองเงินยางเชียงแสน บ้าง หรือ หิรัญนครเงินยาง บ้าง ทั้งนี้ก็หมายถึง เมืองเชียงแสน อีกเช่นกัน เมื่อสร้างเมืองเสร็จ พญาแสนภูก็ประทับที่เชียงแสนตลอดพระชนม์ชีพ เป้าหมายที่แท้จริงของการสร้างเมืองเชียงแสนคือการวางยุทธศาสตร์ให้เป็น ศูนย์กลางเมืองตอนบนและป้องกันข้าศึกทางด้านทิศเหนือ ช่วงหนึ่งเชียงแสนถึงถูกยกระดับให้มีความสำคัญเหนือเมืองเชียงใหม่ ด้วยซ้ำไป
ทะเลสาบเชียงแสน หรือหนองบงคาย
อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงแสนตามทางหลวง 1016 (เชียงแสน-แม่จัน) ประมาณ 5 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายที่ กม.27 เข้าไปอีก 2 กิโลเมตร ในฤดูหนาวจะมีฝูงนกน้ำอพยพมาอาศัยที่ทะเลสาบแห่งนี้ และยังมีทิวทัศน์สวยงามมากเวลาพระอาทิตย์ตก
สบรวก (ดินแดนแห่งสามเหลี่ยมทองคำ)
อยู่ห่างจากเชียงแสนไปทางทิศเหนือ 9 กิโลเมตร ตามถนนเลียบริมแม่น้ำโขง สบรวกเป็นบริเวณที่แม่น้ำโขงซึ่งกั้นดินแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศลาว มาพบกับแม่น้ำรวกซึ่งกั้นดินแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศพม่าจากจุดนี้นัก ท่องเที่ยวจะมองเห็นดินแดนที่เรียกกันว่า สามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งเชื่อมดินแดน 3 ประเทศ คือไทย ลาว พม่า เข้าด้วยกัน ที่สบรวกมีบริการเรือให้เช่าเพื่อเดินทางไปชมทิวทัศน์บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ ใช้เวลาเดินทาง 20 นาที และยังสามารถเช่าเรือจากสบรวกไปยังเชียงแสนและเชียงของได้ใช้เวลาในการเดิน ทาง ประมาณ 40 นาที และ 1 ชั่วโมงครึ่งตามลำดับ
พระธาตุดอยปูเข้า
ตามเส้นทางเชียงแสน-สบรวก แยกซ้ายก่อนถึงสามเหลี่ยมทองคำเล็กน้อย รถยนต์สามารถขึ้นไปถึงยอดเขา หรือจะเดินขึ้นบันไดก็ได้ พระธาตุดอยปูเข้านี้ สร้างขึ้นบนดอยเชียงเมี่ยง ริมปากน้ำรวก เมื่อ พ.ศ. 1302 ในสมัยพระยาลาวเก้าแก้วมาเมือง กษัตริย์องค์ที่ 2 แห่งเวียงหิรัญนครเงินยาง โบราณสถานประกอบด้วยพระวิหาร และกลุ่มเจดีย์ที่พังทลาย ก่อด้วยอิฐมีร่องรอยการตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้น นอกจากนี้บนดอยเชียงเมี่ยงยังเป็นจุดชมวิว สามารถมองเห็นสามเหลี่ยมทองคำได้ชัดเจน
วัดเจดีย์เจ็ดยอด
อยู่เหนือวัดพระธาตุผาเงาขึ้นไปบนดอยประมาณ 1 กิโลเมตร ตัววัดหักพังหมดแล้ว เหลือแต่เพียงซากอิฐเก่าๆ แทบไม่เห็นรูปร่างเดิม อาจกล่าวได้ว่า วัดพระธาตุผาเงาและวัดเจดีย์เจ็ดยอดอยู่บนเขาลูกเดียวกัน มีบริเวณต่อเนื่องกันอย่างกว้างขวาง บริเวณร่มรื่นด้วยไม้ใหญ่สมกับเป็นสถานปฏิบัติธรรม
วัดพระเจ้าล้านทอง
วัดพระเจ้าล้านทอง วัดนี้ตั้งอยู่ในเขตกำแพงเมือง เจ้าทองงั่ว ราชโอรสพระเจ้าติโลกราชเป็นผู้สร้างเมื่อ พ.ศ. 2032 ได้ทรงหล่อพระพุทธรูปองค์หนึ่งหนักล้านทอง (1,200 กิโลกรัม) ขนานนามว่า พระเจ้าล้านทอง เป็นพระประธาน ในวัดนี้ยังมีพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งได้มาจากวัดทองทิพย์ซึ่งเป็นวัดร้าง เรียกกันว่า พระเจ้าทองทิพย์ เป็นพระพุทธรูปทองเหลือง พระพักตร์งดงามมาก ลักษณะเป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย
วัดป่าสัก อยู่***ห่างจากอำเภอเชียงแสน ประมาณ 1 กิโลเมตร เขตตำบลเวียง พระเจ้าแสนภูสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1838 และให้ปลูกต้นสักล้อมกำแพงจำนวน 300 ต้น จึงได้ชื่อว่า “วัดป่าสัก” ทรงตั้งพระพุทธโฆษาจารย์ เป็นสังฆราชจำพรรษา ณ อารามแห่งนี้ ภายในวัดมีโบราณสถานที่สำคัญ คือ เจดีย์ประธานทรงมณฑปยอดระฆัง ตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นอันวิจิตร เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุกระดูกตาตุ่มข้างขวาจากเมืองปาฎลี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น