ไหว้พระ 9 วัด (คู่หูเดินทาง)
"เดือนปีเคลื่อนคล้อยผ่านไปไวเหมือนโกหก" หลายคนคงเผลอนึกเช่นนั้น หลายสิ่งหลายอย่างที่มัวแต่เงื้อง่ายัง ไม่ทันจะลงมือ เจ้าปีเก่าก็หอบพาเอาเวลาส่วนที่เหลือเผ่นผลอยหายไปในม่านควันอันวิกฤตของ บ้านเมืองเสียแล้ว ไม่เป็นไร...ยังไม่สายที่จะรวบรวมกำลังใจทั้งกำลังกายเพื่อเริ่มต้นใหม่
ก็อย่างที่ใครสักคนว่าไว้ "ท้อได้แต่อย่าถอย" เมื่อเป็นเช่นนี้เพื่อให้แฟน ๆ คู่หูเดินทาง ของเราไม่ตกเทรนด์ แถมได้บุญหนุนนำไว้เป็นกำลังใจ เรา จึงเลือกสรรค์วัดเด่นจากทุกภูมิภาคในประเทศไทยจำนวน 9 แห่ง พร้อมประวัติย่อ ๆ ไว้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเดินทางไปกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ณ สถานที่เหล่านั้นเมื่อยามสบโอกาส
1. วัดพระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่
ที่ตั้ง : ถนนศรีวิชัย ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200 เว็บไซต์ www.doisuthep.com
ประวัติย่อ : ต้น พุทธศตวรรษที่ 19 พระเจ้ากือนา ได้ทรงสร้างวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหารไว้บนยอดเขาดอยสุเทพโดยได้นำเอาพระ บรมธาตุของพระพุทธเจ้า ที่พระมหาสวามีนำมาจากเมืองปางจา จังหวัดสุโขทัยบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์พระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร
2. วัดพระธาตุแช่แห้ง จังหวัดน่าน
ที่ตั้ง : บ้านหนองเต่า หมู่ 3 ตำบลม่วงตี๊ด กิ่งอำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน
ประวัติย่อ : พระ บรมธาตุแช่แห้งเป็นพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของชาวน่าน สันนิษฐานว่ามีอายุราว 600 ปี พญาการเมืองโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1891 เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้มาจากกรุงสุโขทัยระหว่าง ปี พ.ศ.1891-1901
3. วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี
ที่ตั้ง : 46 หมู่ 10 บ้านพงสว่าง ตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี 34192
ประวัติย่อ : หลวง พ่อชา สุภทโท เป็นผู้มีจิตฝึกใฝ่ในธรรมตั้งแต่เด็ก ศึกษาปริยัติธรรมและวิปัสสนาจากหลายสำนัก ท้ายสุดเดินทางจารึกไปพบหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เกิดความศรัทธาเลื่อมใสและยึดถือแนวปฎิบัติหลวงพ่อชาได้ทดลองปฎิบัติภาวนาใน สถานวิเวกต่าง ๆ รวมระยะเวลาการออกธุดงค์เป็นเวลา 8 ปี และในปี พ.ศ.2497 จึงได้ออกมาตั้งวัดหนองป่าพงขึ้น
4. วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร จังหวัดนครพนม
ที่ตั้ง : ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม เว็บไซต์ www.phrathatpanom.com
ประวัติย่อ : พระ ธาตุพนมประดิษฐาน ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ตามตำนานกล่าวว่าสร้างมานานไม่น้อยกว่า 2,300 ปี ผู้ที่สร้าง คือ พระมหากัสปะ พร้อมด้วยพระอรหันต์ 500 องค์ ได้นำพระอุรังคธาตุหรือกระดูกหน้าอก ของสมเด็จพระสัมมนาพุทธเจ้ามาเพื่อบรรจุไว้ในพระธาตุ
5. วัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี
ที่ตั้ง : วัดจันทาราม (ท่าซุง) ตำบลน้ำซึม อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี 61000 เว็บไซต์ www.watthasung.com
ประวัติย่อ : แรก เมื่อพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (พระมหาวีระ ถาวโร หรือ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) ได้มาบูรณะวัดท่าซุงนับตั้งแต่ ปี พ.ศ 2511 ขณะนั้นวัดอยู่ในสภาพที่ชำรุดทรุดโทรมมาก มีพื้นที่เพียง 6 ไร่เศษ (เดิมเคยมีพื้นที่ครอบคลุมบริเวณริมแม่น้ำสะแกกรังถึง 370 ไร่) ต่อมาท่านได้ค่อย ๆ ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์และพัฒนาวัดจนเจริญรุ่งเรือง มีเนื้อที่กว่า 289 ไร่ ทั้งยังได้ก่อสร้างอาคาร วิหาร และมณฑปต่าง ๆ เป็นที่น่าอัศจรรย์ฝากไว้มากมาย
6. วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม
ที่ตั้ง : ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
ประวัติย่อ : สันนิษฐาน ว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงส่งสมณทูตมาเผยแผ่พระศาสนา นักปราชญ์ทางโบราณคดีเห็นพ้องกันว่า พระโสณเถระและพระอุตตรเถระเป็นสมณทูตและมาตั้งหลักฐานประกาศหลักธรรมคำสอน ที่นครปฐมเป็นครั้งแรกในพุทธศตวรรษที่ 3 และได้สร้างพระเจดีย์ทรงบาตรคว่ำแบบเจดีย์สาญจิในประเทศอินเดียไว้
7. สวนโมกขพลาราม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ที่ตั้ง : 68/1 ถนนเพชรเกษม หมู่ 6 ตำบลเสม็ด อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84110
ประวัติย่อ : ท่านพุทธทาสภิกขุ เป็นผู้ริเริ่ม สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2502 เพื่อเป็นสถานที่แสวงหา ความสงบและศึกษาธรรม
8. วัดราษฎร์บูรณะ (วัดช้างให้) จังหวัดปัตตานี
ที่ตั้ง : ตำบลควนโนรี อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ประวัติย่อ : เป็น วัดเก่าแก่สร้างมาแล้วกว่า 300 ปี ตามตำนานกล่าวว่า พระยาแก้มดำเจ้าเมืองไทรบุรี ต้องการหาชัยภูมิสำหรับสร้างเมืองใหม่ให้กับน้องสาว จึงได้เสี่ยงอธิฐานปล่อยช้างให้ออกเดินทางไปในป่า โดยมีเจ้าเมืองและไพร่พ เดินติดตามไป จนมาถึงวันหนึ่งช้างได้หยุดอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่งแล้วร้องขึ้นสามครั้ง พระยาแก้มดำจึงได้ถือเป็นนิมิตที่ดี จะใช้บริเวณนั้นสร้างเมือง แต่น้องสาวไม่ชอบ พระยาแก้มคำจึงให้สร้างวัด ณ บริเวณดังกล่าวแทนแล้วให้ชื่อว่า "วัดช้างให้" แล้วนิมนต์พระภิกษุรูปหนึ่งที่ชาวบ้านเรียกว่า "ท่านลังกา" หรือ สมเด็จพะโคะมาเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก
9. วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
ที่ตั้ง : เลขที่ 34 ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร 10600
ประวัติย่อ : เป็น วัดโบราณสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เดิมเรียกว่า "วัดมะกอก" ตามชื่อตำบลบางมะกอกซึ่งเป็นตำบลที่ตั้งวัด ต่อมาใน พ.ศ.2310 เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีพระราชประสงค์จะย้ายราชธานีมาตั้ง ณ กรุงธนบุรี จึงเสด็จกรีฑาทัพล่องลงมาทางชลมารค ถึงหน้าวัดมะกอกนอกแห่งนี้ในเวลารุ่งอรุณพอดี จึงทรงเปลี่ยนชื่อวัดมะกอกนอกเป็น "วัดแจ้ง" เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งนิมิตที่ได้เสด็จมาถึงวัดนี้ในยามรุ่งอรุณ
แนะนำที่ท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว ร้านอาหาร พร้อมคูปองส่วนลดโรงแรม เพียบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น